เจาะลึกโรคของตา

เจาะลึกโรคของตาที่หลายคนไม่รู้จัก

ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพตา นับว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนเคยประสบปัญหากันมา
ไม่ว่าจะเป็นตาแห้ง กล้ามเนื้อรอบดวงตาอ่อนล้า การติดเชื้อที่ตา หรือความผิดปกติอื่นที่รุนแรง
อาทิเช่น ต้อกระจก หรือจอประสาทตาเสื่อมจนถึงขั้นตาบอดมองไม่เห็น ด้วยเหตุนี้เราจึงอยากอธิบายความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคตา รวมไปถึงกลุ่มอาการต่างๆ ดังแสดงตารางนี้

โรคสายตาสั้น (Nearsighted Myopia)

 

 ลักษณะของโรค

อาการแสดงหรืออาการเตือน

สาเหตุของโรค

การมองเห็นสิ่งของในระยะไกลไม่ชัด

• ต้องเพ่งมองสิ่งของหรือเข้าใกล้อย่างมาก เพื่อให้เห็นภาพหรือสิ่งของให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

• ต้องนั่งใกล้จอโทรทัศน์ กระดาน หรือถือหนังสือเข้ามาใกล้ตา

• การใช้สายตาเพ่งมากเกินไป ไม่ว่าดูโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์ทำให้ต้องโฟกัสไปที่ภาพนั้นเป็นเวลานาน

long eyesight

 

สายตายาว (Farsighted, Hyperopia)

 ลักษณะของโรค

อาการแสดงหรืออาการเตือน

สาเหตุของโรค

การมองเห็นสิ่งของในระยะใกล้ไม่ชัด

• ปวดศีรษะและปวดตึงบริเวณดวงตา โดยเฉพาะหลักการเพ่งอ่านตัวหนังสือในระยะใกล้

• โดยปกติเกี่ยวข้องกับอายุและกรรมพันธ์

โรคต้อกระจก (Cataract)

 ลักษณะของโรค

อาการแสดงหรืออาการเตือน

สาเหตุของโรค

เลนส์แก้วตามีความขุ่นมัว ทำให้แสงผ่านเข้าไปที่จอประสาทตาได้น้อยลง 

• การมองเห็นภาพไม่ชัด เมื่ออยู่ในที่มีแสงจ้า แต่จะเห็นชัดเมื่อมีแสงน้อยแทน

• มองเห็นภาพคล้ายมีหมอกมาบังตลอดเวลา โดยเฉพาะบริเวณตรงกลางภาพ

• อายุเกินกว่า 60 ปีขึ้นไป

• การได้รับรังสียูวีจากแสงแดดจัดบ่อยๆ

• การทานยาสเตอรอยด์

• การขาดสารอาหาร

Lutine ช่วงบำรุงสายตา

โรคต้อหิน (Glaucoma)

 ลักษณะของโรค

อาการแสดงหรืออาการเตือน

สาเหตุของโรค

เส้นประสาทตาถูกทำลาย และความดันในลูกตาสูงขึ้น

• ปวดตาและปวดศีรษะอย่างมาก• คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า

• โดยปกติเกี่ยวข้องกับอายุและกรรมพันธ์• ขอบเขตในการมองเห็นแคบลง• อาจมองเห็นแถบสายรุ้งเมื่อจ้องมองแสง

short eye-sight

 

 โรคจอประสาทตาเสื่อม (Macular degeneration)

 ลักษณะของโรค

อาการแสดงหรืออาการเตือน

สาเหตุของโรค

บริเวณจุดกลางรับภาพของจอประสาทตา ที่เรียกว่า Macula เสื่อมลง

• มองเห็นตรงกลางภาพไม่ชัดเจน พร่ามัว

• อาจมองเห็นเหมือนมีจุดดำบังตรงกลางหรือเห็นภาพและเน้นตรงนิดเบี้ยวไป

• ไม่สามารถสนด้ายเข้าเข็มได้

• ความเสื่อมของเซลล์จากอายุที่มากขึ้น

• การขาดสารอาหาร

• การสูบบุหรี่จัด

short eye sight

โรคดวงตาเมื่อยล้า (Tired eyes )


ลักษณะของโรค

อาการแสดงหรืออาการเตือน

สาเหตุของโรค 

ปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อรอบดวงตา

• รู้สึกตาหนักๆ และปวดหน่วงๆ

• มีอาการระคายเคือง ตาแดง น้ำตาไหล

• อาจพบความผิดปกติในการมองเห็น เช่น เห็นภาพกร่ามัว หรือเห็นซ้อน

•นอนไม่พอ

•การใช้สายตาต่อเนื่อง เช่น ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ หรือเพ่งจอคอมพิวเตอร์นานติดต่อกันหลายชั่วโมง


โรคตาบอดกลางคืน (Night blindness)

ลักษณะของโรค

อาการแสดงหรืออาการเตือน

สาเหตุของโรค

มองไม่เห็นเมื่อมีแสงน้อยหรือแสงสลัวๆ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน

• มีความผิดปกติในการปรับภาพ เมื่ออยู่ในที่สลัวหรือที่มื

• ตาแห้ง พร่ามัว

• อาจปวดศีรษะร่วมด้วย

• ขาดวิตามิน เอ

• มีประวัติเป็นต้อกระจกหรือมีสายตาสั้นอยู่ก่อน

beautiful-eye sight

การถนอมดวงตา

นอกเหนือจากปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากกรรมพันธ์และอายุแล้ว
เราสามารถถนอมดวงตาโดยการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา
อาทิเช่น การสวมใส่แว่นตากันแสงยูวีทุกครั้ง

เมื่อต้องออกไปทำกิจกรรมบริเวณที่มีแสงแดดแรงๆ
หลีกเลี่ยงการใช้ดวงตา มากเกินไป หลีกเลียงการดูโทรทัศน์
หรือเล่นเกมส์ผ่านทางจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันหลายชั่วโมง
นอกจากนี้การให้ความสำคัญกับสารอาหารในชีวิตประจำวัน
ก็เป็นอีกปัจจัยที่ช่วยถนอมดวงตาให้ใช้งานได้อีกยาวนาน สำหรับสารธรรมชาติเหล่านั้นได้

สารอาหารเพื่อสุขภาพดวงตาจากผลวิจัยทางการแพทย์ที่มีมายาวนาน

1.วิตามินและแร่ธาติชนิดรวม (Vitamins and Minerals)
วิตามินที่ช่วยในการทำงานของดวงตาลำดับต้นๆ
คงหนีไม่พ้น วิตามินเอ (Vitamin A) และเบต้า-แคโรทีน (Beta-Carotene)
ซึ่งจำเป็นต่อการมองเห็นโดยเฉพาะเวลากลางคืน

Lutine helps eyesight

วิตามินเอในรูปของเรตินอล (Retinol)
จะเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดสีที่เรียกว่าโรดอฟซิน (Rhodopsin)
ซึ่งอยู่ที่จอประสาทตา โรดอฟซินจะมีความไวต่อแสงแม้เพียงเล็กน้อย
จึงจำเป็นอย่างมากในการมองเห็นเวลากลางคืน

นอกจากนี้ วิตามินเอยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดต้อกระจก
ในส่วนของวิตามินบี (Vitamin B)
พบว่าการขาดวิตามิน – ปี12 ( Vitamin-B12)
มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดต้อหิน

นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุสังกะสี (Zinc)
ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งวิตามินเอจากตับไปที่จอประสาทตา
ดังนั้นการขาดธาตุสังกะสี อาจก่อให้เกิดความผิดปกติในการมองเห็น
และเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจกอีกด้วย

2.สารลูทีน (Lutein)
เป็นสารธรรมชาติในกลุ่ม Carotenoids
ซึ่งเป็นรงควัตถุสีเหลืองเข้ม พบได้ในพืชที่มีสีเหลืองรวม
ไปถึงผักใบเขียวเข้มต่างๆ อาทิเช่น ผักโขม ข้าวโพด ดอกดาวเรือง เป็นต้น
และพบที่เซลล์บริเวณ Macula ในจอประสาทตา
ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการมองเห็นภาพที่อยู่ตรงกลางของส่วนรับภาพ

นอกจากนี้ยังช่วยกรองแสงสีน้ำเงิน
ซึ่งเป็นแสงที่ต่างจากสีอื่นตรงที่ว่า แสงสีน้ำเงินจะกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระ
ซึ่งเป็นอันตรายต่อจอประสาทตา
เช่น แสงจากหลอดไฟ แสงจากหน้าจอทีวีและคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

นอกจากนี้ลูทีนยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
ช่วยปกป้องดวงตาจากอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในดวงตา
ซึ่งจะเป็นตัวทำลายเซลล์รับภาพและทำให้เกิดโรคเกี่ยว
กับจอประสาทตาได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
ขนาดรับประทานที่แนะนำ 20-40 มก.ต่อวัน

Extract-Lutein

3.ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ (Berries)

ผลไม้ในกลุ่มนี้ถือว่าเป็นผลไม้ที่ช่วยบำรุงดวงตาอย่างมาก
โดยเฉพาะบิลเบอรร์รี่ (Bilberry)
เนื่องจากมีสารสำคัญอย่าง Anthocyanosides
ที่ช่วยปกป้องผนังหลอดเลือด และหลอดเลือดฝอยเล็กๆ ที่อยู่ในดวงตา
รวมถึงเพิ่มการไหลเวียนเลือดของเส้นเลือดฝอยในตา
นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีมาก
ช่วยป้องกันการทำลายจากสารอนุมูลอิสระ

ซึ่งทำให้เกิดความเสื่อมของจอประสาทตา ต้อกระตก และอาหารตาบอดกลางคืน
การรับประทานลิลเบอร์รี่เป็นประจำ
นอกจากจะช่วยในเรื่องของสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้ว
ยังช่วยทำให้ดวงตาของคุณสดใส มีน้ำหล่อเลี้ยง
แลดูมีสุขภาพดีอยู่เสมออีกด้วย
ขนาดรับประทานที่แนะนำของสารสกัดบิลเบอร์รี่ 60-180 มก.ต่อวัน

vittamin & minerals

4.กรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty acid)
สำหรับกรดไขมันโอเมก้า – 3 ชนิด DHA จะเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง
และระบบประสาทตาที่ดี

โดยปกติน้ำมันชนิดนี้จะพบมากในน้ำมันปลาทะเล (Fish Oil)
ซึ่งช่วยชะลอการเกิดความเสื่อมของจอประสาทตา
ช่วยทำให้ดวงตามีความชุ่มชื้น ป้องกันอาการตาแห้ง
โดยเฉพาะผู้ที่สวมใสคอนแทกส์เลนส์เป็นประจำ

ดังนั้นกรดไขมันจำเป็นดังกล่าว จำมีส่วนช่วยให้ดวงตามีสุขภาพ
ขนาดรับประทานที่แนะนำของ DHA 250-500 มก.ต่อวัน
ทั้งหมดคือสารอาหารจากธรรมชาติที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของดวงตา
รวมไปถึงแนวทางในการปฏิบัติตนเองเพื่อป้องกันความผิดปกติ
ที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตาของคุณ และแน่นอนว่าปัจจัยเหล่านี้
ย่อมช่วยถนอมให้คุณมีดวงตาคู่สวยพร้อมกับสุขภาพของดวงตาที่ดีไปอีกนานแสนนาน

 

Credit: Live Well Guide Magazine

Click! ศึกษาเพิ่มเติม รวมสารอาหารบำรุงสายตาจากทั่วโลกแบบเจล SEE


* These statements have not been evaluated by the Food and Drug Administration. This product is not intended to diagnose, treat, cure or prevent any disease.

“ผลิตภัณฑ์ Gel Plus เจล พลัส อาเจล เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเสริมอาหาร ไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค, ควรกินอาหารหลากหลายครบทั้ง 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ”